อัปเดต! "รายชื่อผู้ลงสมัคร บอร์ดประกันสังคม" ก่อนเลือกตั้ง 24 ธ.ค. 66

“เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม” คืออะไร-สำคัญอย่างไร หลังเปิดให้เลือกครั้งแรก

วันหยุดเดือนธันวาคม 2566 เช็กเลยมีวันหยุดราชการ-หยุดยาววันไหนบ้าง

นับถอยหลังอีกไม่กี่วันก็ถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2566 วันเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมแล้ว ถือเป็นของขวัญวันคริสต์มาสอีฟให้กับคนไทยที่อยู่ในระบบประกันสังคมเลยก็ว่าได้ ที่จะได้มีสิทธิเลือกตั้งตัวแทนฝ่ายนายจ้างและตัวแทนฝ่ายผู้ประกันตนเข้ามาบริหารจัดการนโยบายด้านประกันสังคมแทนเราเป็นครั้งแรกของประเทศ

วันนี้ ทีมข่าว นิวมีเดีย พีพีทีวี จึงขออาสาพาทุกคนมารู้จัก “ผู้สมัคร บอร์ดประกันสังคม” กันว่าจะเป็นใครกันบ้าง

3 ขอต้องไปต่อคำพูดจาก สล็อตวอเลท

ทีม 3 ขอต้องไปต่อ มีผู้สมัครจำนวน 5 คนได้แก่

  • บูรณ์ อารยพล
  • บุญเรือง คุ้มคง
  • เลิศชาย สมัย
  • พิทักษ์ชัย จันทร์สมวงษ์
  • ประสิทธิ์ เพชรแทน

โดยหนึ่งในผู้สมัครคือ “บูรณ์ อารยพล” เคยเป็นนักเคลื่อนไหว “กลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทาน” ผู้เคยเรียกร้องให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคมให้นำเงินสมทบกรณีชราภาพออกมาใช้ในยามวิกฤต ช่วงการแพร่ระบาดของโควิดที่ผ่านมา

สำหรับนโยบายของทีม 3 ขอต้องไปต่อมีทั้งหมด 12 ข้อ ดังนี้

  1. ผู้ประกันตนสามารถเลือกรับบำเหน็จบำนาญได้เมื่ออายุครบ 55 ปี
  2. ประกันสังคมค้ำประกันเงินกู้ 50% ให้ผู้ประกันตน
  3. ขอคืนเงินสมทบชราภาพ 50% ได้ก่อนอายุ 55 ปี
  4. กองทุนประกันสังคม รายงานผลการดำเนินงานทุกเดือน
  5. บำเหน็จชราภาพต้องได้ในส่วนของรัฐบาลทุกเดือนและทุกปี
  6. การคำนวณบำนาญชราภาพที่เป็นธรรมกับทุกมาตรา
  7. มาตรา 33 และ 39 เลือกส่งสมทบได้ตามชอบ
  8. มาตรา 40 ใช้สิทธิประโยชน์รักษาพยาบาลได้
  9. ประกันสังคมดำเนินธุรกิจการเงินขนาดย่อมแก่ประชาชนทั่วไปได้ เช่น ฝาก ถอน สินเชื่อ ขายประกัน โดยให้สิทธิพิเศษกับผู้ประกันคน
  10. รักษาพยาบาลฟรีกับโรงพยาบาลรัฐทุกอห่ง เอกชนรักษาได้เดือนละ 2,000 บาท
  11. ผู้รับบำนาญชราภาพไม่ถูกตัดสิทธิรักษาพยาบาลกับประกันสังคม
  12. ประกันสังคม รับจดแจ้งและจัดเก็บรายชื่อผู้รับประโยชน์ (รับมรดก) ของผู้ประกันตนอย่างเป็นธรรม

ประกันสังคมก้าวหน้า

ทีมประกันสังคมก้าวหน้า มีผู้สมัครจำนวน 8 คนได้แก่

  • ษัษฐรัมน์ ธรรมบุษดี
  • ธนพงษ์ เชื้อเมืองพาน
  • ธนพร วิจันทร์
  • ศิววงศ์ สุขทวี
  • นลัทพร ไกรฤกษ์
  • บุญยืน สุขใหม่
  • ชลิต รัษฐปานะ
  • ลักษมี สุวรรณภักดี

โดยผู้สมัครในทีมนี้มี “ธนพงษ์ เชื้อเมืองพาน” ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง ผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ซึ่งเคยเสนอชื่อร่วม พ.ร.บ.ผู้สูงอายุและบำนาญแห่งชาติ และยังมีบุคคลผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่อีก 2 คน คือ “ษัษฐรัมน์ ธรรมบุษดี” นักวิชาการรณรงค์ด้านรัฐสวัสดิการ และ “นลัทพร ไกรฤกษ์” นักศึกษาปริญญาโทสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ซึ่งเป็นผู้ทำงานร่วมกับเครือข่ายคนพิการอีกด้วย

สำหรับนโยบายของทีมประกันสังคมก้าวหน้า มี 10 ข้อ ดังนี้

  1. เพิ่มค่าคลอดต่อครั้ง
  2. สนับสนุนลาคลอด 180 วัน
  3. ตั้งเงินสงเคราะห์เด็กเล็ก
  4. เหมาจ่ายค่าเลี้ยงเด็ก
  5. มีประกันว่างงาน
  6. เงินชดเชยลาไปดูแลครอบครัว
  7. แก้วิธีการคำนวณบำนาญ
  8. ใช้บัญชียามาตรฐานเดียว
  9. สิทธิทันตกรรมเทียบ สปสช.
  10. สิทธิขอใช้เงินกู้ฉุกเฉิน

พัฒนาประกันสังคม

ทีมพัฒนาประกันสังคม มีผู้สมัครจำนวน 7 คน ได้แก่

  • ดร.ทวีเกียรติ รองสวัสดิ์
  • ทรงกรด ชูศรี
  • เบญจพร บุษมงคล
  • ชัชพงศ์ โชติศิริ
  • ฟารีดา บุรณนัฎ
  • สมพงศ์ นครศรี
  • ณัฐหทัย พรชัยศิริมงคล

สำหรับนโยบายของทีมทีมพัฒนาประกันสังคม มี 11 ข้อ ดังนี้

  1. นายจ้างลูกจ้างไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล
  2. ให้นายจ้าง ลูกจ้าง กู้ – ยืมเงินได้
  3. ตั้งโรงพยาบาล สถานพยาบาล ประกันสังคม
  4. การรักษาพยาบาล E-INSURANCE และการรักษาเชิงรุก
  5. อบรมกฎหมายรักษาพยาบาลให้นายจ้าง ผู้ประกันตน และคู่สัญญา
  6. เข้ารักษาพยาบาลได้ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ
  7. เงินชราภาพหรือเงินอื่น ดูแลนายจ้างและลูกจ้าง
  8. แรงงาน ประกันสังคม ให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย
  9. พ.ร.บ.พระราชกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง อย่างเป็นธรรม
  10. บทกำหนดโทษ นายจ้าง ลูกจ้างอย่างเป็นธรรม
  11. จัดตั้งศูนย์ให้บริการนายจ้างและผู้ประกันตน 24 ชั่วโมง

สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย

ทีมสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.)มีผู้สมัครจำนวน 7 คน ได้แก่

  • สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง
  • จตุรงค์ ไพรสิงห์
  • ลาเร่ อยู่เป็นสุข
  • เรืองรุ่ง วิเชียรพงษ์
  • ศาสลักษณ์ ศาสตร์บัญชา
  • โอสถ สุวรรณ์เศวต
  • อรอนงค์ นิธิภาค

สำหรับนโยบายของทีมสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย มี 14 ข้อ ดังนี้

  1. รักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ
  2. รับชราภาพแล้ว รักษาฟรีตลอดชีพ
  3. จัดตั้งโรงพยาบาลประกันสังคม
  4. รับเงินสงเคราะห์บุตร 50% รวม 98 วัน
  5. เพิ่มเงินทดแทนการคลอดบุตร 20,000 บาท
  6. เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร 3,000 บาท/เดือน ถึงอายุ 7 ปี
  7. ว่างงานรับเงินทดแทน 50% รวม 6 เดือน
  8. เพิ่มเบี้ยบำนาญชราภาพ 10,000 บาท/เดือน
  9. จัดตั้งธนาคารของผู้ประกันตน
  10. ม.33,39,40 ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน
  11. รัฐบาลต้องจ่ายเงินสมทบ 5% เร่งรัดหนี้ค้างจ่าย
  12. มีระบบตรวจสอบเข้าถึงข้อมูล เพื่อความมั่นคงของกองทุน
  13. เลิกจ้างงานระยะสั้น เพิ่มสวัสดิการ และเส้นทางก้าวหน้า
  14. ประกันสังคมต้องอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้

สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย

ทีมสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย มีผู้สมัครจำนวน 7 คน ได้แก่

  • กิตติศักดิ์ อธิสกุลทรัพย์
  • ธนัสถา คำมาวงษ์
  • ธีรสุวัฒน์ สิงหนิยม
  • อำนาจ มงคลชัย
  • วสันต์ มหิงษา
  • วัชรพงษ์ ศิริวัฒน์
  • ว่าที่ ร.ต.อรรถพร อ่อนนิ่ม

สำหรับนโยบายของทีมสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย มี 9 ข้อ ดังนี้

  1. เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร จาก 800 บาท เป็น 3,000 บาท จนถึงอายุ 12 ปี
  2. เพิ่มเงินบำนาญชราภาพ ให้ไม่น้อยกว่า 10,000 บาท/เดือน
  3. เลือกสิทธิประโยชน์ รับบำเหน็จ หรือ บำนาญ กองทุนชราภาพ
  4. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยให้มีดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 1 เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่าย
  5. เพิ่มเงินช่วยเหลือค่าปลงศพ จาก 50,000 บาท เป็น 100,000 บาท
  6. ปรับลดอัตราเงินสบทบเหลือร้อยละ 2.75
  7. สร้างโรงพยาบาลประกันสังคมและสถาบันการแพทย์ให้กับผู้ประกันตน
  8. ตั้งธนาคารผู้ประกันตน
  9. เป็นองค์กรอิสระปราจากการครอบงำจากภาครัฐและการเมือง

เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน

ทีมเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) มีผู้สมัครจำนวน 8 คน ได้แก่

  • ศิริศักดิ์ บัวชุม
  • ศุภกฤต ชูความดี
  • ธนพัต ธนัตเจริญ
  • อุบล ร่มโพธิ์ทอง
  • วาฑิต พุทธปวน
  • ธีรพงษ์ อุ่นฤดี
  • นิคม สองคร
  • ศิริศักดิ์ บัวชุม

สำหรับนโยบายของทีมเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน มี 5 ข้อ ดังนี้

  1. สนับสนุนให้มีการจัดตั้งธนาคารแรงงาน
  2. สนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลประกันสังคมหรือสถาบันทางการแพทย์เฉพาะทาง
  3. ปรับรูปแบบการลงทุนเงินกองทุนประกันสังคมโดยกระจายความเสี่ยงการลงทุนเพื่อผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น
  4. พัฒนาปรับปรุงการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลให้สะดวกรวดเร็วและปลอดภัย
  5. เพิ่มขยายสิทธิ์ประโยชน์ของผู้ประกันตนทุกมาตราให้เหมาะสมกับสภาวะการทางเศรษฐกิจปัจจุบัน
  • แก้ไขระเบียบ เงินบำนาญชราภาพ นำเงินสมทบเดือนสุดท้ายมาเป็นฐานการคำนวณ
  • แก้ไขระเบียบ มาตรา 39 เมื่อรับบำนาญแล้วคงสิทธิ์ไว้สามกรณี (เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต)
  • แก้ไขระเบียบ มาตรา 40 จ่ายช่องทางเดียว ครอบคลุมสิทธิ์ประกันสังคม 7 กรณี

ผู้สมัครบอร์ดประกันสังคมฝั่งผู้ประกันตน กีรติ โกสีย์เจริญ ขออาสาเป็นตัวแทน พนง ออฟฟิส เป็น ผู้ประกันตน ม.33 มา 29 ปี จบ MBA MIT และเป็นผู้บริหารในวงการตลาดทุนที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปี เชี่ยวชาญงานบริหารจัดการ มีความรู้ อุตสาหกรรมหลักทรัพย์ และลงทุน ร่วมทีมกับผู้เชี่ยวชาญ ศ ดร วรเวศม์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประชากรศาสตร์ และ ศ ดร วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ผู้เชียวชาญด้านหลักประกันสังคม และการสร้างความกลมกลืนเรื่องหลักประกันสุขภาพภาครัฐ

ขออาสาลงเลือกตั้งบอร์ด สปส ฝั่งลูกจ้าง เพื่อเป็นปากเสียงให้ มนุษย์เงินเดือน พนักงานออฟฟิส ที่ตัดสินใจลงสมัครเลือกตั้งเพราะกังวลเรื่องความมั่นคงของ กองทุน งบการเงินกองทุนสองปีที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ปีละ 27,000ลบ ต่อปี เมื่อ 5ปีก่อน อัตราเงินสบทบ 100บาท จ่ายสิทธิประโยชน์ 40บาท แต่ปี 64 อัตราเงินสมทบ 100บาท จ่ายสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตน 107บาท นอกจากนี้สินทรัพย์สุทธิและส่วนทุนปลายปี 65 เหลือ 5แสนลบ จาก 6.2แสนลบ ภายใน 1 ปี (กองทุนมีสินทรัพย์ 2.3ล้านล้านบาท แต่ต้องหักหนี้สินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพด้วย ในต่างประเทศ เมื่อต้นปีจะเห็นความวุ่นวายในยุโรปจากปัญหาการประท้วงกองทุนใกล้เคียงกันในฝรั่งเศส ก็กลัวแทนสมาชิกกองทุนด้วยกัน https://youtu.be/NMkeUvgXLPg?si=ub14BsI-Rm-FUn5q

ข้อเสนอของทีมคือเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุน สร้างความมั่นคง เพื่อปรับปรุงเรื่องสิทธิ ประโยชน์ของสมาชิก ลดความซ้ำซ้อนกับสิทธิอื่นๆ

1. เพิ่มประสิทธิภาพการหารายได้ บริหารค่าใช้จ่ายให้คุ้มค่า – เพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน ปรับพอร์ตให้สามารถหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นในความเสี่ยงที่ยอมรับได้โดยตามเงินสมทบคงค้าง 65,000ลบ สนับสนุนทรัพยากรให้ทีมลงทุน เพิ่มความคล่องตัวจากข้อจำกัด ทะลายกฏระเบียบที่ทำให้ไม่สามารถลงทุนสร้างโอกาสผลตอบแทนเต็มศักยภาพ – ควบคุมการบริหารค่าใช้จ่ายให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด ทบทวนจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสม โปร่งใส – นำเทคโนโลยีมาใช้ digital strategy เพื่อยกระดับบริการ ทำธุรกรรมต่างๆเช่น เลือกตั้ง ส่งเรื่องขอใช้สิทธิ เช็คสิทธิ เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลรวมถึงรายงานประชุมในวงกว้าง

2. ทบทวน ปรับปรุงเรื่องสิทธิเพื่อให้ประโยชน์กับสมาชิก โดยลดความซ้ำซ้อน และยกระดับให้เทียบเคียงสิทธิอื่น ภายใต้การบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้คณิตศาสตร์ประกันภัย วิเคราะห์ผลกระทบ มีข้อมูลวิจัยรองรับ เพื่อสถานะทางการเงินที่มั่นคง

ไม่เน้นแต่การเพิ่มสิทธิอย่างเดียว แต่เสนอให้ปรับปรุงเชิงโครงสร้างเพื่อสร้างประสิทธิภาพประกอบกับการยกระดับสิทธิสำหรับผู้เอาประกัน

เรื่องสิทธิหากถอดบทเรียนจากเรื่องประกันโควิด แน่นอนเราต้องการสิทธิมาก ยิ่งเยอะยิ่งดี เมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่จ่าย แต่ถ้าประกันจ่ายเกินตัว ในที่สุดก็ล้ม แป๊บเดียว 2-3ปี เจ๊ง จ่ายต่อไม่ไหว สุดท้ายผู้เอาประกันไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยครับ

ดังนั้น 24 ธ.ค. ขอเชิญชวนให้เลือกทั้งสามเบอร์ 48, 79, 113 เพื่อเป็นตัวแทนมนุษย์เงินเดือนพนักงานออฟฟิศพิทักษ์กองทุนที่เราส่งเงินเข้าทุกเดือน

การเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม

สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือ ผู้ประกันตนและนายจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม จะสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตัวแทนได้ฝ่ายละ 7 คน ณ หน่วยเลือกตั้งที่ท่านมีรายชื่อในวันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566 เวลา 08.00-16.00 น.

โตโยต้า เตรียมหยุดขาย-เรียกคืนรถยนต์ 2 รุ่น ในไทยหลังพบความผิดปกติใหม่

พม.เสนอครม.เคาะ 4 แพ็กเกจของขวัญปีใหม่คนพิการ-ผู้สูงอายุ

กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566

 อัปเดต! "รายชื่อผู้ลงสมัคร บอร์ดประกันสังคม" ก่อนเลือกตั้ง 24 ธ.ค. 66

By admin

Related Post