หลังจากที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เปิดเวทีฟังเสียงประชาชน เรื่องการสร้าง “อุโมงค์ทางด่วนใต้ดิน 2 ชั้น” ศรีรัช-ถนนประเสริฐมนูกิจ 6.7 กิโลเมตร เส้นแรกในไทย ความลึก 40 เมตร เทียบตึก 15 ชั้น วันนี้ทีมข่าวพีพีทีวี ได้ลงสำรวจ เส้นทางก่อสร้างอุโมงค์ทางด่วนใต้ดิน
อุโมงค์ทางด่วนใต้ดิน 2 ชั้น แห่งแรกของไทย จากศรีรัช-ถนนประเสริฐมนูกิจ
สรุป 14 หน้า เอกสารหลุด! นโยบายรัฐบาล"ครม.เศรษฐา 1"
และสอบถามความเห็นของประชาชนที่ยังมีความกังวลเรื่องความปลอดภัย ขณะเดียวกัน ได้สัมภาษณ์พิเศษ ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งยืนยันว่า อุโมงค์ทางด่วนปลอดภัย มีระบบป้องกันน้ำท่วม แผ่นดินไหว และ เซฟตี้โซนรับรถเสียทุก 250 เมตร
ทีมข่าวพีพีทีวี ลงพื้นที่ไปสำรวจตามแนวโครงการที่มีการศึกษาจะสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ส่วนทดแทนตอน N1 จากทางด่วนพิเศษศรีรัช ถนนงามวงศ์วาน ไปจนถึง ถนนประเสริฐมนูกิจ โดยลองขับรถสำรวจ สภาพการจราจร ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนเช้าวันนี้ (ุ6 ก.ย.66)
ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของโครงการใต้ทางด่วนศรีรัช ช่วงถนนงามวงศ์วาน เป็นจุดที่การจราจรติดขัด มากที่สุดจุดหนึ่งของกรุงเทพมหานคร พบว่า สภาพการจราจรติดขัดสลับหยุดนิ่งเป็นบางช่วง นอกจากนี้ยัง พบว่า ริมถนนมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ การรับฟังความคิดเห็นประชาชนต่อโครงการ ครั้งที่ 2 ซึ่ง จัดไปเมื่อวันที่ 4 กันยายนที่ผ่านมา ติดอยู่ข้างทางเป็นระยะ
ทีมข่าวสอบถามความเห็นประชาชนย่านงามวงศ์ พบว่า ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าจะมีโครงการก่อสร้าง อุโมงค์ทางด่วน
อย่างเช่น นายพัฒนา เพิ่มเจริญ คนขับวินรถจักรยานยนต์รับจ้าง บอกว่า ถ้ามีการสร้างทางด่วน ลึกลงไปใต้ดินก็กังวลถึงความปลอดภัย หากเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วม เพราะทุกครั้งที่มีฝนตกหนัก ถนนงามวงศ์วานก็เป็นอีกจุดที่มีน้ำท่วมขังสูง จึงมีคำถามว่าการขุดอุโมงค์ทางด่วนใต้ดิน จะรับมือกับเรื่องนี้ยังไง และในช่วงการก่อสร้าง จะต้องมีการปิดถนน หรือ มีผลกระทบกับประชาชนที่สัญจรไปมา
รวมทั้ง ตั้งข้อสังเกตว่า การสร้างอุโมงค์ สร้างทางด่วน ไม่ต่างจากการสร้างถนนเพิ่ม อาจทำให้มีปริมาณรถมากขึ้น แนะให้เพิ่มรถไฟฟ้าดีกว่า
ทีมข่าวพูดคุย นายศิลา ตันวิสุทธิ์ พนักเอกชน ซึ่งอาศัยอยู่ย่านงามวงศ์วานมากกว่า 10 ปี บอกว่า ต้องทนกับรถติด ทั้งช่วงเช้า และช่วงเย็นทุกวัน ก็หวังว่าการก่อสร้างอุโมงค์ทางด่วน จะช่วยแก้ปัญหาได้ เชื่อว่า วิศวกรได้ศึกษาผลกระทบและออกแบบมาเป็นอย่างดี
ส่วนตัวไม่กังวลเรื่องของความปลอดภัย เพราะต่างประเทศก็มีการก่อสร้างอุโมงค์ทางด่วนในลักษณะนี้ แต่สิ่งที่ห่วงก็คือ โครงการก่อสร้างที่ใช้งบประมาณจำนวนมาก จะต้องทำให้เกิดความโปร่งใส ต้องคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุน เปิดเผยให้ประชาชนรับรู้ทุกขั้นตอน เพราะที่ผ่านมาโครงการขนาดใหญ่ มักจะเกิดการทุจริต ลดสเปค จนส่งผลต่อความปลอดภัย
โปรแกรมวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย AVC 2023 ไทย พบ จีน รอบชิงชนะเลิศ
ประกาศฉบับที่ 21 เตือน! 34 จังหวัด “ฝนตกหนักถึงหนักมาก”
ออกหมายจับ "อิทธิพล คุณปลื้ม" คดีออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารมิชอบ
ประชาชนส่วนใหญ่ยังสะท้อนด้วยว่า อยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มการประชาสัมพันธ์ รายละเอียด เกี่ยวกับโครงการให้มากกว่านี้ ทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง ระยะเวลาการก่อสร้าง และมีแผนเตรียมการรองรับอย่างไรบ้าง
จากข้อห่วงใยของประชาชน ทีมข่าวพีพีทีวี ได้พูดคุยกับ นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งให้ข้อมูลว่า โครงการนี้มีการศึกษามากว่า 20 ปีแล้ว จนลงตัวที่รูปแบบอุโมงค์ใต้ดินทั้งเส้นทางมีจุดเริ่มต้นบริเวณทางพิเศษศรีรัชตัดกับถนนงามวงศ์วาน ยาวไปตามแนวถนนงามวงศ์วานผ่านแยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร เข้าถนนประเสริฐมนูกิจจนเชื่อมต่อกับโครงการทางด่วนอื่นๆ ซึ่งสามารถลดผลกระทบความกังวลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้
ทั้งยังจะเป็นอุโมงค์ทางด่วนสายแรกของประเทศ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 เมตร ใหญ่กว่าอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ภายในอุโมงค์ใต้ดินเป็นทาง 2 ชั้น ขนาด 2 ช่องจราจร ซ้อนกันอยู่ โดยระดับความลึกที่สุดของอุโมงค์ จะอยู่ที่ประมาณ 44 เมตรจากผิวดิน
ส่วนเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยนั้น ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ยืนยันว่ามีการระบบดูแลอย่างดี อย่างในกรณีน้ำท่วม ก็จะมีพื้นที่เนินสูง (Berm) ก่อนเข้าอุโมงค์รองรับน้ำตามมาตรฐานอยู่แล้ว ความปลอดภัยด้านในมีจุดระบายอากาศ จุดอพยพ 4 จุดตามมาตราฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัย กรณีรถเสีย ก็มีช่องพ็อคเก็ตเลนหรือเซฟตี้โซนทุก 250 เมตรไว้รองรับเช่นกัน ส่วนข้อกังวลเรื่องแผ่นดินไหว เพราะประเทศไทยเป็นดินอ่อนนั้น นายสุรเชษฐ์ย้ำว่า หากเกิดแผ่นดินไหวภายในอุโมงค์จะปลอดภัยกว่าด้านนอกด้วยซ้ำ เพราะตัวอุโมงค์จะเคลื่อนตัวตามการขยับของแผ่นดิน จึงขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจมาตรฐานการก่อสร้างได้อย่างแน่นอน
ส่วนขั้นตอนการพัฒนาโครงการนั้น หลังผลการศึกษาโครงการเสร็จในปี 2567 จะเสนอคณะกรรมการบอร์ด กทพ. จากนั้นนำเรื่องเข้าเสนอแก่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบ หลังจากนั้นจะเริ่มเปิดประมูลจัดหาเอกชนร่วมลงทุนภายในปี 2569 และเร่งรัดให้เริ่มต้นงานก่อสร้างทันทีภายในต้นปี 2570 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี แล้วเปิดให้บริการได้ภายในปี 2575 พร้อมคาดการณ์ปริมาณจราจรปีแรกที่เปิดให้ใช้อุโมงค์ทางด่วนใต้ดินจะสูงถึง 7 หมื่นคันต่อวัน สำหรับวงเงินการก่อสร้างอุโมงค์ทางด่วน ประมาณ 36,000 ล้านบาท สูงกว่าทางด่วนแบบยกระดับ ประมาณ 5 เท่า เบื้องต้นทาง กทพ.จะลงทุนเอง โดยใช้รายได้มาดำเนินการ หากวงเงินยังไม่พออาจต้องมีการระดมทุนเพิ่มเติมจากการออกหุ้นกู้ ตราสารหนี้ต่างๆคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง